จัดเบรคด้วยผลไม้

จัดเบรคด้วยผลไม้ – มนุษย์ Office ทั้งหลาย เมื่อถึงเวลาประชุมนอกจากวาระการประชุมที่จะต้องเตรียมแล้ว ก็น่าจะมีอาหารเบรคนี่หละ ที่เราน่าจะนึกถึงกันใช่มั้ยคะ อาหารเบรคเป็นมื้อที่เพิ่มโอกาสที่ทำให้เราได้รับพลังงานส่วนเกินจากเดิมได้ บางมื้ออาจพลังงานเท่ากับหรือมากกว่าอาหารจานหลัก 1 มื้อเสียด้วยซ้ำ โดยเฉพาะพวกอาหารกลุ่มเบเกอรี่ ที่ทำให้ผู้เข้าประชุมได้รับน้ำตาล และไขมันส่วนเกินเพิ่มขึ้น จนกลายเป็นพลังงานสะสมที่มากเกินไปแล้วกลายเป็นโรคอ้วนลงพุงได้ วันนี้เราจึงขอเสนอตัวอย่างอาหารเบรคเพื่อสุขภาพ หรือ Healthy Break  เพื่อให้หน่วยงาน HR, แผนกจัดเลี้ยง หรือคุณแม่บ้านที่มีหน้าที่ในการจัดอาหารเบรคในองค์กร ลองนำไปใช้ เพื่อประโยชน์ทางด้านสุขภาพให้กับผู้เข้าร่วมประชุม เช่น จัดเบรคด้วยผลไม้ เป็นต้น

หลักการจัดเบรค ผลไม้

1.คุมพลังงาน  การคุมพลังงานไม่เกิน 100 – 200 kcal /ชุด หรือน้อยกว่านั้นได้ก็จะดี  ซึ่งสามารถทำได้ง่ายๆ คือ การลองดูฉลากโภชนาการในอาหารนั้นๆ หรือลองดูสินค้าที่มีสัญลักษณ์โภชนาการทางเลือกสุขภาพ หรือการควบคุมอาหารให้เป็นประเภทต้ม นึ่ง อบ หรือ เลือกเป็นผลไม้ไม่เกินประมาณ 1 กำปั้น

2.เพิ่มใยอาหาร ใยอาหารในอาหารว่าง จะทำให้เพิ่มความอิ่มได้แม้รับประทานอาหารไม่เยอะมาก การเพิ่มใยอาหารในมื้อเบรคสามารถทำได้ง่ายๆ เช่น การจัดเบรคเป็นผลไม้ หรือหากเป็นอาหารคาว อาจเพิ่มผักได้ในเมนูเช่นแซนวิช  หรือเลือกเป็นถั่วเปลือกแข็ง เช่น อัลมอนด์ เม็ดมะม่วงหิมพานต์ โดยเลือกเป็นแบบอบก็มีใยอาหารสูงเช่นกัน

3.จัดโปรตีนใส่จาน โปรตีน มีส่วนช่วยการทำงานของสมอง แถมยังช่วยให้อาหารมื้อนั้นที่เราทานหนักท้องมากขึ้น โดยแหล่งโปรตีนจะสามารถเพิ่มได้จาก นม โยเกิร์ต นมถั่วเหลือง ซึ่งสามารถรับประทานคู่กับผลไม้ได้ หรือ เมนูอาหารคาวที่มีแหล่งโปรตีน เช่น แซนวิชไส้อกไก่ ขนมจีบกุ้ง ซาลาเปาไส้หมูสับไข่ต้ม

4.สั่งลดน้ำตาล และ เกลือ   การเลือกเครื่องดื่มหรืออาหารสำหรับมื้อเบรคให้ลองสั่งลดน้ำตาล เช่น เลือกกาแฟดำ น้ำสมุนไพรไม่ใส่น้ำตาล น้ำเปล่า และ สั่งลดเกลือหรือการปรุงรส เช่น ลดการจิ้มน้ำจิ้ม เลือกถั่วแบบรสธรรมชาติแทนแบบปรุงรส

จัดเบรคสำหรับงานสัมมนาอย่างไรให้ปัง

1. สถานที่สัมมนา
การจัดขนมเบรคควรคำนึงถึงสถานที่ในการจัดงานสัมมนา หากสถานที่มีห้องรับรองแยกเป็นสัดส่วน ย่อมไม่มีปัญหาในการจัดเตรียม แต่ถ้าหากไม่มีห้องรับรองและจำเป็นต้องจัดเตรียมในห้องสัมมนา ควรเลือกขนมที่บรรจุห่อหรือซองให้มิดชิด เพื่อสุขภาพอนามัยของผู้ร่วมงาน

2. ช่วงเวลาในการจัดพักเบรค
ตารางเวลาในการจัดเบรคมีผลต่อการเลือกขนม ช่วงเวลาที่นิยมจัดเบรค คือ จัดเบรคเช้า ประมาณ 10.00 น. และจัดเบรคบ่าย ประมาณ 14.00 น. หรือบางงานอาจจัดเบรคในช่วงเปลี่ยน Section ของงาน
– ช่วงพักเบรคเช้า ควรเป็นขนมที่เบาท้อง และไม่รู้สึกอิ่มเกินไป เพราะเป็นเวลาใกล้อาหารเที่ยง อาทิ ชา กาแฟ แซนด์วิช ครัวซองค์ ขนมปังไส้ต่าง ๆ ช่วยเติมพลังให้ร่างกายและเรียกความสดชื่นในยามเช้าได้
– ช่วงพักเบรคบ่าย ไม่ควรจัดขนมที่หนักเกินไป เพราะจะทำให้ง่วงได้ เช่น เอแคลร์ คุกกี้ บราวนี่ หรือ ผลไม้

3. เลือกขนมให้เหมาะกับงาน
ขั้นตอนในการเลือกขนมถือเป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญมาก ต้องคำนึงถึงภาพรวมของความสะอาดด้วย หากมีการพักเบรคในห้องสัมมนา จะต้องเลือกขนมที่รับประทานง่ายหรือจัดเป็นเซ็ตไว้แล้วที่เรียกว่า Snack Box สิ่งที่พึงระวังในการเลือกขนมเบรค ควรคำนึงถึงความนิยมของคนส่วนใหญ่เป็นหลัก ไม่ควรใช้ความรู้สึกหรือความชอบของตนเอง เมื่อยึดตนเองเป็นที่ตั้ง โอกาสที่จะสร้างความประทับใจให้แขกก็จะลดน้อยลง

4. เครื่องดื่มประกอบช่วงพักเบรคก็สำคัญ
นอกจากขนมเบรค เครื่องดื่มที่ใช้ร่วมกันก็สำคัญไม่น้อย โดยมากมักเป็น ชา หรือ กาแฟ การใช้ชาหรือกาแฟคุณภาพดี ช่วยเพิ่มความกลมกล่อมให้กับขนมเบรคยิ่งขึ้น และอาจมีทางเลือกอื่น เช่น น้ำผลไม้ ประกอบกับขนมพักเบรค

5. จัดเตรียมน้ำดื่มบริการอย่างเพียงพอ
นอกเหนือจากขนม เครื่องดื่มร่วมกับขนมพักเบรคแล้ว ควรเตรียมน้ำดื่มไว้คอยบริการผู้เข้าร่วมสัมมนาไว้อย่างเพียงพอ โดยเฉพาะช่วงเวลาพักเบรค อาจเป็นน้ำดื่มแบบแก้วหรือขวดพกพา หรือมีจุดบริการน้ำไว้บริการให้แก่ผู้ร่วมสัมมนา

6. เลือกผู้ให้บริการที่มีชื่อเสียงและน่าเชื่อถือ
ควรเลือกผู้ให้บริการจัดขนมพักเบรค โดยเลือกจากชื่อเสียงและความน่าเชื่อถือเป็นหลัก ทั้งนี้ คุณอาจต้องทำความเข้าใจและข้อตกลงกับร้านค้าในเรื่องของจำนวนขนมเบรคและสำรองเผื่อกรณีฉุกเฉิน รวมถึงวัน เวลา สถานที่ในการจัดส่ง เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการผิดพลาด

เมนูจัดเบรค

2. S-ชุดแสน็คบ็อค (กลาง)

3. S-ชุดแสน็คบ็อค (ใหญ่)

4. ขนมจีบหมู 20 ลูก

 

By thailer